พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญาพิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ.2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปีพระนางพญาเป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับรูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ“ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง พระนางพญาถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จเมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก ก็คือพระนางพญานั่นเองทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯสมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้าส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุแต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่างและเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่นพบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า“กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่“พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่“วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้งเมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญาเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆแล้วนำไปเผาลักษณะของพระนางพญา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามากมีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ
1. พิมพ์เข่าโค้งถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
3. พิมพ์อกนูนใหญ่ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
5. พิมพ์อกแฟบ(หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก
6. พิมพ์อกนูนเล็กถือเป็นพิมพ์เล็ก
7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วงหรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ
พระนางพญาไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมดผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นเลิศ สมกับเป็นหนึ่งในห้าชุดของชุดเบญจภาคีนั้นเอง พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคีอีกทั้งยังฝังจมดิน ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปีเนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือมวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระเพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว
การค้นพบพระนางพญาในยุคหลังในเวลาประมาณพ.ศ.2470 องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออก ของวัดนางพญาได้พังลง เจ้าอาวาสในยุคนั้นคือพระอธิการถนอม ได้ให้ชาวบ้าน และพระเณรช่วยกันขนเอาดิน และเศษอิฐ เศษปูนจากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ ต่อมาอีกหลายปี ก็กลายเป็นดงกล้วยเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงครามเข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วย และได้ทำการขุดหลุมหลบภัยจึงพบพระพญากระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน นอกจากค้นพบ ที่วัดนางพญาแล้ว พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุแต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน กับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่างและเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศ ที่ค้นพบ เช่นกรุบางสะแก หรือที่เรียกว่ากรุน้ำ พบบริเวณพื้นที่ตำบลบางสะแก ริมฝั่งของแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก มักเรียกกันว่ากรุเหนือ พบประมาณปี พ.ศ.2497 พบพระนางพญาบรรจุอยู่ในหม้อดิน ฝังในดินจำนวน 3 ใบ พบพระมากกว่า 1,000 องค์ที่พบพระนั้นมักจะมีน้ำท่วมขังพระจึงเสียผิวและมีเม็ดแร่กรวดทรายปรากฏอยู่เรียกกันว่า "แร่ลอย" กรุวังหน้าพบที่พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า ข้างโรงละครแห่งชาติ(ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์) โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญได้จากเจ้าเมืองพิษณุโลก จึงทรงบรรจุไว้ในพระอุโบสถขณะที่กำลังบูรณะพระอุโบสถพบพระที่บริเวณใต้ฐานชุกชีพระที่พบเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ สภาพของรักแห้งและร่อนออกง่ายพบจำนวนไม่มาก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะโดนระเบิดโจมตีโรงไฟฟ้าวัดเลียบจำนวนไม่มากเป็นพระลงรักปิดทอง อีกครั้งพบที่วัดสังข์กระจายฝั่งธนบุรีที่กำลังรื้อพระเจดีย์ครั้งนี้ ได้พระที่แห้งสนิทแต่ไม่ลงรักปิดทองจำนวนไม่มากนัก ปี พ.ศ.2497 พบที่พระเจดีย์องค์เล็ก ที่วัดอินทรวิหาร คนร้ายได้แอบเจาะพบพระนางพญาใส่ไว้ในบาตรพระ ที่ผุแล้ว พระชุดนี้จะมีคราบของสนิมเหล็กติดอยู่พบพระนางพญาครบทุกพิมพ์ และยังพบลานทองจารึกไว้ว่า "พระที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่ได้นำมาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444" ซึ่งตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ประพาสเมืองพิษณุโลก ครั้งสุดท้ายพบที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำ ในบริเวณวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2532 พุทธคุณเป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา พระนางพญาองค์นี้พิมพ์เข่าโค้ง ที่ไม่ใช่เขาลอยที่โดนกันจนตากลับ เนื้อหาดูง่ายครับ องครูในการดูดินแม่น้ำน่าน มีแร่ประปรายครบสูตร นำมาลงไว้เพื่อการศึกษานะครับ
ราคา: | ไม่ระบุราคา | ต้องการ: | ขาย | ||
ติดต่อ: | วิเชียร เปลี่ยวปลอด | อีเมล์: | |||
สภาพ: | มือสอง | จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร | ||
โทรศัพย์: | |||||
มือถือ: | 088-2366063 | ||||
คำค้น: | พระพิมพ์นางพญาสามเหลี่ยม เนื้อทองเหลือง | นางพระยาเนื้อดินข้างขีด | เหรียญพระกรุนางพญา เนื้อทองเหลือง | เหรียญพระกรุนางพญาสามเหลี่ยม เนื้อทองเหลือง | พระนางพญา เนื้อทองเหลือง | นางพญา สองหน้า เนื้อทองเหลือง | เหรียญพระพุทธ พิมพ์สามเหลี่ยม ทองเหลือง | เหรียญสามเหลี่ยม พิมพ์พระพุทธ เนื้อทองเหลือง | สมเด็๑นางพญาลสามเหลียมสองหนัา | พิมพุทธโสธร เนื้อดินสามเหลี่ยม | |